Thursday 3 October 2013

* * * * * * * * * * บทนำของเว็บไซต์ * * * * * * * *



        วันต่อต้านโทษประหารชีวิตสากลในปี 2556 นี้ สมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน สสส ได้มีการจัดทำเว็บไซต์ภาษาไทยขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการยกเลิกโทษประหารชีวิตเพื่อการก้าวไปสู่การยกเลิกโทษดังกล่าวในประเทศไทย ซึ่งจะมีการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อรัฐสภาในอนาคตอันใกล้รวมถึงให้ประเทศไทย
สิทธิในการมีชีวิต เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและเป็นต้นกำเนิดของสิทธิมนุษยชนด้านอื่นๆ สิทธิในการมีชีวิตนี้มักจะถูกกล่าวหาเป็นสิทธิที่ขัดขวางการลงโทษประหารชีวิตต่อผู้ซึ่งละเมิดสิทธิในการมีชีวิตของผู้อื่น ซึ่งถ้อยคำเหล่านี้อาจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องในอดีตซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สังคมยังไม่ได้มีการพัฒนาระบบกระบวนการยุติธรรมเพื่อรับมือกับอาชญากรรมและปกป้องประชาชนในสังคม อย่างไรก็ตาม ในประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว ซึ่งกระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพในการรับมือกับอาชญากรรมและเป็นเครื่องมือในการปกป้องประชาชนในสังคม โทษประหารชีวิตกลายเป็นสิ่งที่รุนแรงและโหดร้ายซึ่งไม่ได้ช่วยป้องกันการเกิดอาชญากรรมร้ายแรงแต่อย่างใด และยังจะเป็นการลดคุณค่าของชีวิตของมนุษย์คนหนึ่งลงด้วย
เรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิตนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ และการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยที่ไม่ได้ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของโทษประหารชีวิตและเหตุผลว่าทำไมถึงควรยกเลิกโทษดังกล่าว ไม่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการทำให้เกิดสิ่งที่ถูกต้องในสังคมได้ เว็บไซต์นี้จะนำเสนอเกี่ยวกับเหตุผลของการต้อง ซึยกเลิกโทษประหารชีวิตในมุมมองของสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับการยอมรับในประชาคมโลกส่วนใหญ่
เรายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นของท่านและตอบคำถามเกี่ยวกับประเด็นการยกเลิกโทษประหารชีวิต หวังว่าการแลกเผลี่ยนทัศนคติในครั้งนี้สามารถทำให้ความกลัวและความสงสัยเกี่ยวกับการยกเลิกโทษประหารชีวิตนั้นหมดไป และทำให้การใช้โทษประหารชีวิตกลายเป็นสิ่งที่คงอยู่แต่เพียงในประวัติศาสตร์เท่านั้น

วันต่อต้านโทษประหารชีวิตสากล: ประเทศไทยอยู่ตรงไหน

วันต่อต้านโทษประหารชีวิตสากล: ประเทศไทยอยู่ตรงไหน
มรดกทางประวัติศาสตร์อันโหดร้ายมนุษย์ถูกมอบให้นั้นได้แก่ โรคระบาดร้ายแรง ทาส การทรมานและโทษประหารชีวิต การเกิดขึ้นขององค์กรสหประชาชาติและมาตรฐานในการมีมนุษยธรรมของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนทำให้เราเห็นว่าการมีทาสและการทรมานเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชน แต่โทษประหารชีวิตก็ยังเป็นสิ่งที่ยังคงอยู่ใน 43 จาก 193 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ
นายบัน คีมุน เลขาธิการแห่งองค์การสหประชาชาติ ได้มีข้อความถึงวันต่อต้านโทษประหารชีวิตสากลในปี 2556 นี้ ซึ่งกล่าวว่า มีการขาดอำนาจทางการเมืองในการแทรกแซงในการยกเลิกโทษประหาร ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นหลักในการที่โทษประหารชีวิตยังคงอยู่ในประเทศนั้นๆ นายบัน คีมุนได้วอนขอให้ผู้นำทางการเมืองในประเทศทั่วโลกที่ยังมีการใช้โทษประหารชีวิตอยู่ให้ยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต โดยการรณรงค์เอาโทษประหารชีวิตออกจากกระบวนการยุติธรรมนั้น ส่วนใหญ่แล้วยังคงมีการต่อต้านจากตัวผู้นำเอง ในกรณีของประเทศไทย ทัศนคติของผู้นำทางการเมืองในประเทศไทยนั้นไม่ว่าจะไม่กระตือรือร้นหรือไม่สนใจในเรื่องดังกล่าว ผลลัพธ์ก็ออกมาในแบบเดียวกันคือ การคงอยู่ของโทษประหารชีวิตในกระบวนการยุติธรรม
เลขาธิการของสหประชาชาติยังกล่าวด้วยว่า การเอาชีวิตนั้นถือเป็นสิ่งที่คนๆ หนึ่งมีอำนาจในการลงโทษเหนือคนอีกคนหนึ่งอย่างสมบูรณ์เกินไปและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแก้ไขได้ และสิ่งเหล่านั้นก็ยังได้รับการสนับสนุนจากกระบวนการยุติธรรม ในหลายๆ ครั้ง ถึงแม้กระบวนการยุติธรรมมีขั้นตอนหลายขั้นตอนในการหาตัวผู้กระทำผิด แต่ก็ยังเกิดความผิดพลาดก่อให้เกิดการประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ ซึ่งเกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปี หรือหลายทศวรรษแล้ว
ประเทศไทยยืนอยู่ตรงไหนในเรื่องของโทษประหารชีวิต แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 2 ตั้งแต่ปี 2552 - 2556 เสนอให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงยุติธรรมได้ถูกกำหนดให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องโทษประหารชีวิตในรัฐสภา แต่ว่ามีการสนับสนุนโดยน้อยนิดจากรัฐบาล หรือมีจัดสรรงบประมาณสำหรับกิจกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การเสนอให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตนั้นถูกเขียนไว้อีกครั้งในร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 3 ระหว่างปี 2557 – 2561
สิ่งจูงใจนั้นในเรื่องดังกล่าวนั้นดูเหมือนจะมาจากปัจจัยภายนอก ในการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) ในปี 2554 ซึ่ง 10 ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้เตือนประเทศไทยเกี่ยวกับพันธกรณีในการปกป้องสิทธิในการในการมีชีวิต (Right to Life) กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้มีการงดออกเสียงในเรื่องโทษประหารหลังจากนั้นแทนที่จะออกเสียงคัดค้านในเวทีสหประชาชาติ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นการยอมรับให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต แต่การงดออกเสียงดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการสัญญาณที่ดีสำหรับประเทศที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมอย่างประเทศไทย
แนวทางในการยกเลิกโทษประหารชีวิตของไทยอาจมีได้ดังนี้
  1. การยึดเวลาของสถานะในปัจจุบันออกไป คำแถลงการณ์ของของข้าราชการระดับสูงของกระทรวงยุติธรรมยืนยันว่า การประหารชีวิตในอนาคตนั้นคงไม่น่าจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ในปี 2562 ประเทศไทยมีสภาพเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้วในทางปฏิบัติ (de facto) อย่างไรก็ตาม การยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัตินี้ สามารถจบลงเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะว่าไม่มีหลักเกณฑ์ หรือข้อกำหนดอันเป็นสากลที่กำหนดแน่นอน แนวทางในการปฏิบัตินี้อาจเป็นแนวทางที่ผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการสนับสนุนการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยตรง เพราะเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าประชาชนโดยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยในการยกเลิกโทษประหารชีวิต
  2. ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยกำลังจะก้าวไปสู่การยกเลิกประหารชีวิต โดยที่การยกเลิกโทษประหารชีวิตได้ถูกนำเสนออยู่ในแผนสิทธิมนุษยชนแผนที่ 2 (2552 – 2556) และร่างแผนสิทธิมนุษยชนแผนที่ 3 (2557 – 2561) ซึ่งในร่างฉบับที่ 3 นี้เองที่มีการนำเสนอให้มีการทำงานวิจัยในเรื่องในแผนสิทธิมนุษยชนซึ่งต้องมีการปฏิรูปทางกฎหมายก่อนที่จะสิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ แผนการสำรวจความคิดของประชาชนจากงานประชุมต่างๆ ที่จัดขึ้นในสี่ภูมิภาคของประเทศไทย และการอภิปรายในรัฐสภา ซึ่งร่างแผนสิทธิมนุษยชนนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักวิชาการในเรื่องของงานวิจัยและผลของการวิจัย อย่างไรก็ตาม ในร่างแผนสิทธิมนุษยชนนี้ ไม่มีการกล่าวถึงเรื่องของการรณรงค์การยกเลิกโทษประหารชีวิตเพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับประโยชน์ของการยกเลิกโทษประหารชีวิตและผลกระทบของการคงไว้ซึ่งโทษดังกล่าว
  3. การกล้าที่จะมีมติยอมรับให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยผู้นำประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นในทุกประเทศทั่วโลกที่มีการปฏิเสธการลงโทษประหารชีวิต สิทธิมนุษยชนนั้นไม่ได้หาได้จากความคิดส่วนใหญ่ของประชาชน หรือวิธีการประชานิยม แต่สิทธิมนุษยชนนั้นหาได้จากจริยธรรมอันดีงาม มีการพิสูจน์มากมายที่บ่งบอกว่าชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าเกินกว่าที่จะทำลาย ผู้ที่ต้องการเหตุผลสนับสนุนในเรื่องการยกเลิกโทษประหารหรือสนใจที่จะศึกษาสามารถทำความเข้าใจกับงานวิจัยหรือเอกสารต่างๆ ที่ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าการประหารชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง การยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศส่วนใหญ่ที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติก็สามารถเป็นแนวทางให้ศึกษาได้สำหรับเรื่องนี้ สิ่งต่างๆ เหล่านั้นเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าสิทธิในการมีชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ เช่นเดียวกับที่มีการพิสูจน์ว่าการทรมานและการมีทาสถือเป็นสิ่งที่โหดร้ายและไร้มนุษยธรรม
If the trumpet plays an uncertain sound, who shall prepare for battle” หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า“ถ้าหากการเป่าแตรให้สัญญาณรบเป็นไปด้วยความไม่มั่นใจ ใครเล่าจะพร้อมรบ” ตัวอย่างผู้นำทางการเมืองที่นำประชาชนสู้การยกเลิกโทษประหารได้แก่ เช่น อดีตประธานาธิบดี José Ramos-Horta แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต อดีตประธานาธิบดี Gloria Arroyo แห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และ ประธานาธิบดี Tsakhiagiin Elbegdorj แห่งสาธารณรัฐประชาชนมองโกเลีย สำหรับประเทศไทยนั้นยังคงต้องการการทำให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิของการมีชีวิตซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรุกล้ำได้
ดร. แดนทอง บรีน, โครงการเรื่องโทษประหารชีวิตของสมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน (สสส.)